ประวัติความเป็นมาอำเภอลานสกา ลานสกาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมเป็นพื้นที่ที่ขึ้นต่ออำเภอเมือง นครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อทางราชการได้แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑลเทศาภิบาล จึงได้ถูกตั้งให้เป็นกิ่งอำเภอเรียกว่า "กิ่งอำเภอเขาแก้ว" เพราะที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ในเขตตำบลเขาแก้ว ต่อมาได้ แยกตำบลเขาแก้วออกจากตำบลลานสกา จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กิ่งอำเภอลานสกา" แม้ว่าภายหลังจะได้แยกตำบลเขาแก้วออกจากตำบลลานสกาอีกครั้งหนึ่งก็ตาม และที่ว่าการกิ่งอำเภอยังคงตั้งอยู่ในเขตตำบลเขาแก้ว แต่ยังคงเรียกกิ่งอำเภอลานสกาตามเดิม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2501 ทางราชการได้ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอลานสกาเป็น "อำเภอ ลานสกา" จนกระทั่งตราบเท่าทุกวันนี้ | ||
คำว่า "ลานสกา" มีคำอธิบายเป็นสามนัย ดังนี้ | ||
1. ชื่อมาจากภาษาของชาวหมู่เกาะทะเลใต้ ซึ่งได้นำเอาศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ เข้ามาเป็นครั้งแรก เรียกว่า "แลงกา" แปลว่า หูบเขา ซึ่งก็ตรงกับภูมิประเทศปัจจุบัน ต่อมามีผู้ใส่ "ส" ข้างหน้า "กา" จึงเป็น "สกา" และเรียกเพี้ยนไปจนเป็น "ลานสกา" | ||
2. ชื่อนี้เป็นคำไทยแท้ คือ "ลาน-กา" ซึ่ง "ลาน" หมายถึง ที่ราบ ที่เตียน ซึ่งเป็นจริง และในครั้งก่อนมีฝูงกาลงมารวมพวกสนุกสนานกันเป็นประจำ ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่นั้นว่า "ลานกา" ต่อมามีผู้ใส่ "ส" ไว้หน้า คำBN " ว่า "กา" จึงเรียนเพี้ยนเป็น "ลานสกา" ไปในที่สุด 3. จากการบอกเล่าของผู้รู้ซึ่งเป็นผู้อาวุโสในท้องที่ อธิบายคำว่า "ลานสกา" คือ ลานที่ใช้เล่น "สกา" ระหว่างพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชกับพระอนุชา โดยในสมัยนั้นได้เกิดโรคห่าระบาดขึ้นที่หาดทรายแก้ว (พื้นที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชปัจจุบัน) ทั้งสองพระองค์ได้อพยพไพร่พลขึ้นมาทางต้นน้ำไปประทับอยู่ที่บริเวณตำบลลานสกา หลังจากโรคห่าซบเซาลงทั้งสองพระองค์ได้ยกไพร่พลกลับสู่หาดทรายแก้ว แต่ก็มีไพร่พลบางส่วนยังคง ทำมาหากินปลูกสร้างบ้านเรือนและสวนผลไม้อยู่ในที่ดังกล่าว และต่อมาก็กลายเป็นบรรพบุรุษ ส่วนหนึ่งของชาวลานสกาจนถึงทุกวันนี้ สภาพทั่วไปของตำบล : เป็นที่ราบเชิงเขา มีถนนผ่านกลางตำบล และมีคลองธรรมชาติไหลผ่านในตำบลมีเนื้อที่ 41.5 ตร.กม. แบ่งเป็นหมู่บ้านจำนวน 7 หมู่บ้าน หนึ่งในภูมิปัญญาอำเภอลานสกา ขนมไทย เป็นของหวานที่ทำและรับประทานกันในทุกภาคของประเทศไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ สมัยก่อนในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย ทั้งขายอยู่กับที่ แบกกระบุง หาบเร่ และได้มีการปรับปรุงการบรรจุห่อไปตามยุคสมัย เช่น ในปัจจุบันมีการบรรจุในกล่องโฟมแทนการห่อด้วยใบตองในอดีต ขนมไทยส่วนใหญ่ทำมาจากข้าว และจะใช้ส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรรมชาติ ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งใช้ในรูปข้าวทั้งเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้งคือ แป้งข้าวเจ้า และแป้งข้าวเหนียว นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่น ๆ เช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาล เป็นต้น นางสุวรรณชาติ สุขอินทร์ อยู่บ้านเลขที่ 109 หมู่ที่ 4 อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างและทำขนมขาย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดจากครอบครัว เพราะสมัยเป็นเด็กพ่อแม่ทำขนมไทยหลายชนิด ทั้งขนมกวนหน้ามัน ขนมเปียกปูน ขนมชั้น ขนมมันนึ่งหน้ากะทิ ข้าวเหนียวชนิดต่าง ๆ และขนมนึ่งหน้ามัน จึงได้สรุปองค์ความรู้ในการผลิตขนมนึ่งหน้ามัน ในหนึ่งหน่วยการผลิต ต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ และขั้นตอนการผลิต ดังต่อไปนี้ อุปกรณ์และปัจจัยในการผลิต 1. แป้งข้าวเจ้า จำนวน 12 กิโลกรัม 2. แป้งมัน จำนวน 1 ถ้วย 3. น้ำตาลปี๊บ (สีน้ำตาล) จำนวน 1 กิโลกรัม 4. น้ำกะทิ จำนวน 6. ถ้วย คั้นจากมะพร้าว 6 ลูก) 5. น้ำสะอาด จำนวน 1 ถ้วย 6. เกลือ จำนวน 2 ช้อนชา 7. กระทะนึ่ง จำนวน 1 ใบ 8. กะละมัง จำนวน 2 ใบ 9. ถาด จำนวน 1 ใบ 10. ทัพพี จำนวน 1 อัน 11. กระชอน จำนวน 1 อัน 12. มีด จำนวน 1 เล่ม ขั้นตอนการผลิต 1. นำน้ำกะทิ จำนวน 3 ถ้วย ใส่กระทะตั้งไฟปานกลาง ขณะตั้งไฟต้องคนตลอดเวลา จนกะทิเริ่มแตกมันจับกันเป็นก้อน ยกลงจากเตา 2. นำน้ำตาลปี๊บ ผสมกับน้ำสะอาด 1 ถ้วย นำไปตั้งไฟคนจนน้ำตาลปี๊บละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ยกลงจากเตา 3. นำแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน เกลือ น้ำกะทิที่เหลืออีก 3 ถ้วย ใส่ในกะละมังคนจนส่วนผสมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน 4. นำน้ำตาลปี๊บที่ตั้งไฟ (ตามข้อ 2) เทใส่ในส่วนผสมที่เตรียมไว้ตามข้อ 3 คนให้ส่วนผสมละลายเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน และนำมากรองให้สะอาด 5. ตักกะทิที่ตั้งไฟ (ตามข้อ 1) เอาเฉพาะส่วนที่จับกันเป็นก้อน จำนวน 2 ถ้วย ใส่ลงในส่วนผสมที่กรองแล้ว คนให้เข้ากันอีกครั้ง 6. นำกระทะนึ่งใส่น้ำตั้งไฟ เมื่อน้ำเดือดนำถาดไปวางในกระทะ และนำส่วนผสมที่เตรียมไว้เทลงในถาด ปิดฝา นึ่งประมาณ 50 นาที เมื่อสุกยกลงจากเตา ตั้งให้เย็น ตัดเป็นชิ้น ๆ จำหน่าย ผลลัพธ์ที่ได้จากการผลิต 1. การทำขนมนึ่งหน้ามัน ในหนึ่งหน่วยการผลิต ใช้ต้นทุนในการผลิต ดังนี้ 1. แป้งข้าวเจ้า จำนวน 12 กิโลกรัม 2. น้ำตาลปี๊บ จำนวน 1 กิโลกรัม 3. มะพร้าว จำนวน 6 ลูก 2. สามารถผลิตขนมนึ่ง ได้ดังนี้ - ขนมนึ่งหน้ามัน จำนวน 1 ถาด ตัดเป็นชิ้นได้ จำนวน 36 ชิ้น จำหน่าย 2 ชิ้น/กล่อง กล่องละ 10 บาท ขนมขายทุกวันนี้เป็นการทำในครอบครัว คิดจะทำอะไรขอให้ทำอย่างจริงจัง แม้แต่ทำขนม ไทย ๆ ห่อละไม่กี่บาทก็สามารถทำรายได้มาใช้จ่ายในครอบครัวได้ ทุนไม่เยอะ ขอให้มีฝีมือ ของใหม่ สด ไม่ผสมสารกันบูด ก็อร่อยและขายได้แล้ว นางสาวจริญญา อาการส 100 คำ จาก 12 คำที่ควรรู้ 1 1 . พลังงานสะอาด ( Green Energy ) พลังงานสะอาดหมายถึง พลังงานที่ไม่ทำลาย หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เป็นพลังงานจากธรรมชาติ แหล่งพลังงานไม่เป็นมลพิษ สามารถควบคุมกระบวนการผลิตให้มีผลกระทบน้อย เช่น พลังงาน ชีวมวล พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานจากคลื่นจากปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากพืช พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานสะอาดช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สัมพันธ์โดยตรงกับการพัฒนายั่งยืน เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่ก่อให้เกิดการผลิตไฟฟ้ามาจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมน้อยกว่าโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ 2. 2. จิตสำนึก ( Consciousness, Awareness ) จิตสาธารณะ (Public Mind ) ความหมายทางชีวจิตวิทยา คือการรับรู้ การรู้ตัว เป็นสภาวะที่ตื่นอยู่รู้ได้ เข้าใจได้สั่งการได้เจตนาอันเป็นปัจจุบัน ส่วนคำว่าจิตใต้สำนึก ทางจิตวิเคราะห์อธิบายว่า “ เป็นตัวเราที่เราไม่รู้ตัว “ เป็นอีกคนหนึ่งที่อยู่ในตัวเรา ซึ่งผลักดัน ให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งปกติและไม่ปกติ ซึ่งบ่อยครั้งเราเองก็ยังงงว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทำได้อย่างไร ทำไปทำไม ความหมายทางสังคม หมายถึง การรับรู้ในหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผู้อื่น ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นความ หมายที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าหรือศืลธรรม เช่น การแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ คงทำได้ยากถ้าหากไม่ช่วยกันสร้าง จิตสำนึกการเคารพกฏหมาย และการมีวินัย ไม่ใช่เคารพกฎเป็นบางครั้งเช่นใส่หมวกกันน๊อกเมื่อเห็นตำรวจอยู่ตามสี่แยก หรือใส่หมวกเมื่อรู้ว่าข้างหน้ามีตำรวจ ในประเทศไทย เริ่มมีการใช้คำว่า จิตสาธารณะ เพื่อหมายถึงบุคคลที่มีจิตสำนึกทางสังคม มีความรับผิดชอบและ เสียสละต่อส่วนรวม เห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน 3. 3. เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เป็นชื่อกลางเพื่อหมายถึงการทำเกษตรที่ปลูกหลาย ๆ อย่าง เลี้ยงหลาย ๆ อย่าง ทำกิจกรรม ทางการเกษตรอย่างผสมผสานกัน เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนเกื้อกูลกัน เช่น การปลูกพืช ไม้ใหญ่ไม้เล็กไม้ผล ไม้ใช้สอย ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์หลายชนิด ทั้ง ปลา ไก่ หมู เป็ด วัว ควาย รวมทั้งการนำเอาผลผลิตมาแปรรูป ทำไว้กินไว้ใช้ ที่เหลือ ค่อยเอาไปขายเพื่อนำเงินมาซื้อสิ่งที่ตนผลิตเองไม่ได้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เกษตรผสมผสานมีมานานแล้ว เช่น สวนสมรมในภาคใต้ ซึ่งปลูกไม้ผล พืชผักไว้กินมีหลาย ๆ อย่างตามที่ ครอบครัวต้องการ หลายอย่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และปล่อยไว้โดยไม่มีการจัดการอะไรเป็นพิเศษ บางแห่งก็ปลูก แซมไว้ในป่า เป็นสวนในป่าธรรมชาติ หลักคิดสำคัญของการทำเกษตรผสมผสานคือ การทำเพื่ออยู่เพื่อกินเป็นหลัก ไม่ได้มุ่งไว้ขาย ไม่ได้ทำแบบเอาเป็นเอา ตาย หรือเน้นการลงทุนมาก ไม่ได้เน้นการผลิตให้มีมาก ๆ เพื่อจะได้ขายและได้เงินมามาก ๆการทำเกษตรผสมผสาน มีเป้าหมายคือการพึ่งตนเองเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านอาหาร ทั้งสมุนไพร ของใช้สอยต่าง ๆ และพอมีรายได้บ้าอยู่อย่างพอ เพียง เกษตรผสมผสานมีการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยสิ่งที่ปลูกที่เลี้ยงจะเกื้อกูลกัน เสริมกัน เช่น สัตว์ได้พืชผักเป็น อาหาร พืชผักก็ได้มูลสัตว์เป็นปุ๋ย ได้น้ำในบ่อปลาไปให้พืชผัก เอาไม้ที่ปลูกมาทำประโยชน์ในครัวเรือนและในสวน เป็นการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน 4. 4. ผลประโยชน์ทับซ้อน ( Conict of Interest ) ผลประโยชน์ทับซ้อน หมายถึงผลประโยชน์ชัดกันระหว่าง ผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม รูป แบบผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มนักการเมืองหรือข้าราชการ อาจเป็นการรับผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การรับของขวัญ จากบริษัทธุรกิจ สนับสนุนค่าเดินทางให้กับผู้บริหาร และการ ไปประชุมต่างประเทศ หรือหน่วยงานราชการรับเงินบริจาค เพื่อสร้างสำนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ได้รับของแถมของขวัญ หรือผลประโยชน์อื่นตอบแทนการทำธุรกิจกับตัวเอง มีส่วน ได้ ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานที่ตนสังกัด ทำสัญญาซื้อสินค้าจากบริษัทของตนเอง หรือจ้างบริษัทของตนเป็น ที่ปรึกษา หรือซื้อที่ดินของตนเองในการจัดสร้างสำนักงานเป็นทั้งผู้ซื้อและเป็นทั้งผู้ขาย ในเวลาเดียวกัน ผลประโยชน์ทับซ้อน ก็อาจหมายถึง การทำงานหลังจากลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ หรือหลังจากที่เกษียณจากหน่วยงานของรัฐ ไปทำงานในบริษัทเอกชน ที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน การทำงานพิเศษรับจ้างเป็นที่ปรึกษาโครงการ การรู้ถึงข้อมูลภายใน และใช้ประโยชน์จากการรับรู้ข้อมูลภายในเพื่อนำไปสู่ประโยชน์ของตนเอง เช่น ทราบว่าจะมีการตัดถนนกันตรงไหน ก็รีบไปซื้อที่ดินโดยใส่ชื่อภรรยา การใช้สมบัติของราชการเพื่อประโยชน์ของธุรกิจส่วนตัว การนำเครื่องใช้ในสำนักงาน กลับมาใช้ที่บ้าน 5. คืนสู่ธรรมชาติ ( Back to the Nature ) คืนสู่ธรรมชาติ เป็นกระแสโลกปัจจุบันที่พบว่า การพัฒนาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสามร้อยปีที่ผ่านมาได้ทำลาย ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมไปมากจนเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคม จึงได้มีความพยายามที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีเหลืออยู่ และฟื้นฟูที่เสียไปให้กลับมาให้ได้มาก ที่สุด เพื่อฟื้นฟูความสมดุลในทางธรรมชาติ ยุคนี้จึงเป็นยุคของ “ สุขภาพ ปลอดสารเคมี อินทรีย์ธรรมชาติ “เป็นยุคที่คนเห็นคุณค่าและความสำคัญของผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง รวมไปถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ ใกล้ธรรมชาติมากกว่าผลผลิต ของสังคมยุคใหม่ และไฮเทค 6. ไบโอดีเซล ไบโอดีเซล เป็นเชื้อเพลิงเหลวที่ผลิตจากน้ำมันพืชและไขมันสัตว์ เช่น ปาล์ม สบู่ดำ มะพร้าว ถั่วเหลืองดอกทาน ตะวัน น้ำมันงา น้ำมันพืช และน้ำมันพืชและสัตว์ที่ผ่านการใช้งานแล้ว นำมาทำปฏิกิริยาทางเคมีร่วมกับแอลกอฮอล์ ( เมทานอลหรือเอทานอล ) จนมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล ไบโอดีเซล “ หรือ “ B100 “ คุณสมบัติสำคัญของ ไบโอดีเซล คือ สามารถย่อยสลายได้เอง ตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม แก๊ซโซฮอล์ เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้มาจากการผสมกันระหว่าง น้ำมันเบนซิน กับเอทานอล หรือแอลกอฮอล์ จากผลผลิตทางการเกษตร แก๊ซโซฮอล์ 95 มาจากการผสม เอทานอลในปริมาณ 10 เปอร์เซ็นต์กับน้ำมันเบนซิน 91 อีก 90 เปอร์เซ็นต์ เรียกว่า E10 ถ้าเอทานอล ร้อยละ 20 เรียกว่า E20 7.โภคนิยม ( Consumerism ) บริโภคนิยม เป็นคำที่ใช้กันทั้งทางวิชาการและในทางสังคมทางวิชาการ หมายถึง ทฤษฏีที่บอกว่า ยิ่งมีการบริโภคมาก ขึ้นเพียงใด ก็ยิ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ ทางสังคมใช้คำนี้ไปในทางลบเพื่อบอกถึงลัทธิบริโภคนิยมหรือที่บางคนเรียกว่า “ ลัทธิบ้าบริโภค “ กลุ่มคนที่ใช้คำนี้ในทางลบ เป็นกลุ่มขบวนการที่ต้องการจะปกป้องผู้บริโภคที่ถูกเอาเปรียบ หลอก ลวง และครอบงำ ของผู้ผลิตที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ ใช้เครื่องมือสื่อสารโดยเฉพาะสื่อมวลชนในการโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้คนหลงใหล อยากได้ อยากมี และเข้าไปอยู่ในวงจรของหนี้สินที่ต้องกู้ยืมมาเพื่อการบริโภคจนถลำลึกถอนตัวไม่ขึ้น ทำให้เกิดปัญหาชีวิต ปัญหา ลัทธิบริโภคนิยม ตอบสนองกิเลสของมนุษย์ ทำให้ทุกคนเห็นว่าการมีบ้านหลังใหญ่ รถยนต์คันโตราคาแพง ของใช้ ที่มียี่ห้อต่าง ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างสถานภาพทางสังคมให้กับตนเองทำให้ผู้อื่นยอมรับในสังคม 8. กระบวนทัศน์ ( Paradigm ) กระบวนทัศน์ หมายถึง ทัศนะการมองโลกความเป็นจริงอันเป็นที่มาของวิธีคิด วิธีปฏิบัติ บางคนแปลว่าทัศนะแม่ บท เพราะเป็นทัศนะพื้นฐานที่เป็นตัวกำหนดวิธีคิด วิธีให้คุณค่าและวิถีชีวิตทั้งหมดของผู้คน คำนี้มาจากหนังสือ Structure of Scientific Revolution ของ Thomas Kuhn ที่เขียนขึ้นมาเมื่อกลางศตวรรษที่แล้ว เขาบอกว่า เมื่อใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ก็จะเกิดการปฏิวัติวิทยาศาตร์ เช่นที่เกิดขึ้นชัดเจนในยุคของนิวตัน รองไอส์ไตน์ ที่ “ มองโลกด้วย กระบวนทัศน์ใหม่ หนังสือจุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษของฟริตจอฟ คาปรา พูดเรื่องการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ไว้อย่างละเอียด วิเคราะห์ให้เห็นด้าน ลบของกระบวนทัศน์ในฝั่งตะวันตกที่ครอบงำโลกใน ปัจจุบันคิดแบบแยกส่วนแบบลดทอน ซึ่งทำลายสิ่งแวด ล้อม ความสัมพันธ์ของคนกับธรรมชาติ คนกับคน การเสื่อมสลายของชุมชน สังคม คาปราเขียนเรื่องตำแหน่งฟิสิกส์ เพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าของแนวคิดแบบชาวตะวันออก ที่ควรเป็นฐานกระบวนทัศน์ใหม่ไปสู่สังคมใหม่ เพราะเน้นที่ความสัม- พันธ์ ความสมดุล และองค์รวมคล้ายกับฟิสิกส์สมัยใหม่ 9. ทฤษฏีระบบ ( Systems Theory ) ทฤษฏีระบบ เป็นทฤษฏีสหวิทยาการว่าด้วยความสัมพันธ์อันซับซ้อนของธรรมชาติ สังคม และวิทยาศาสตร์ รวมทั้ง เป็นกรอบคิดที่ใช้อธิบายกลุ่มคน องค์กร หรือสิ่งต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันและก่อให้เกิดผลบางอย่าง เป็นวิธีคิดที่ให้ความสำคัญ กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ที่ทำให้ทุกส่วนมีความสัมพันธ์และมีผลกระทบต่อกัน ดังในกรณีระบบนิเวศ ระบบอินทรีย์ ( สิ่งมีชีวิต ) ระบบสังคม ระบบองค์กร ทฤษฏีระบบเป็นแนวคิดที่ว่าด้วยการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ให้สัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันอย่างเป็นธรรมชาติ จนไม่ สามารถพิจารณาส่วนต่าง ๆ อย่างแยกจากกัน เหมือนกับที่เกิดขึ้นในอดีตที่แยกส่วนและลดทอน“ ทั้งหมด “ ลงมาเหลือแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง วิทยาศาสตร์และการประยุกต์ใช้วิธีคิดแบบลดทอน ก่อให้เกิดความเสียสมดุลในชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม เห็นได้ชัดในด้านการแพทย์ การศึกษา การพัฒนา การบริหารการจัดการบ้านเมือง ทฤษฏีระบบเน้น ความเป็นองค์รวม บูรณาการให้ทุกส่วนสัมพันธ์กัน เป็นองคาพยพเดียว เช่น การศึกษาไม่แยกจากชีวิต การพัฒนาที่เอา ชีวิตผู้คน ชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง 10. การพึ่งตนเอง ( Self – Reliance ) การพึ่งตนเอง เป็นสภาวะอิสระ คือ ความสามารถของคนที่จะช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด โดยไม่เป็นภาระของคน อื่นมากเกินไป มีความพอดีในชีวิต ความพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ มีสิ่งจำเป็นปัจจัยสี่พอเพียง เป็นความพร้อมทั้งทางร่างกาย และจิตใจ การพึ่งตนเอง หมายถึง การจัดการชีวิตให้สัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับคน สังคม และธรรมชาติรอบ ๆ ตัว เรา การพึ่งตนเอง คือการมีสวัสดิการและความมั่นคงในชีวิต ในปัจจุบันไปจนถึงอนาคต สวัสดิการที่พร้อมตอบสนองเรา ได้ทันที โดยที่เราไม่ต้องไปเรียกใครมาจัดการสวัสดิการให้ หรือให้ใครเข้ามาช่วยเหลือ ( ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ) เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นรากฐานของการพึ่งตนเองทั้งระดับครอบครัว ระดับชุมชน ดังทรงมีกระแสรับสั่ง เมื่อวันที่ 18 กรกฏาคม พ.ศ. 2517 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่า “ การพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกินพอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่ ก่อน เบื้องต้นโดยใช้วิธีการ และอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พัฒนาบนความมั่นคงพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว ค่อยสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจขั้นสูงในลำดับต่อไป 11. ปราชญ์ชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน หมายถึง สามัญชนคนธรรมดาที่ไม่ธรรมดา อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ในชนบทที่ได้รับการยกย่อง จากชาวบ้านทั่วไปว่าเป็นผู้มีภูมิปัญญามีความรู้ความสามารถในการอธิบายและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นคนดีมีคุณธรรม เพราะภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่เป็นองค์รวมของชีวิต แม้ว่าปราชญ์ชาวบ้านบางคนนั้น จะมีความรู้เฉพาะเรื่องอย่างถ่องแท้ แต่ ก็เป็นความรู้อันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทั้งหมด เป็นความรู้ที่ทำให้ชีวิตโดยรวม เกิดความมั่นคง ทำให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราชญ์ชาวบ้าน จึงเป็นคนที่เข้าใจปรัชญาชีวิตอย่างลึกซึ้ง ทำให้คนเห็นคุณค่าและความหมายของชีวิตเข้าใจใน สาเหตุที่มาของปัญหา และเป็นผู้นำในการแสวงหาทางออกด้วยสติปัญญา ปราชญ์ชาวบ้านมองชีวิตรอบด้าน และยึดมั่น ในคุณค่าและคุณธรรม โดยทั่วไปคนที่เป็นปราชญ์ย่อมไม่ยกย่องตนเองว่าเป็นปราชญ์ซึ่งคนอื่น โดยเฉพาะนักวิชา การ ข้าราชการ เอ็นจีโอ คนนอกชุมชนที่ยกย่อง และให้เกียรติ เรียกพวกเขาว่าปราชญ์ชาวบ้าน 12. ประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ประโยชน์นิยม เป็นแนวคิดทางปรัชญาที่บอกว่า คนเรามีเป้าหมายอยู่ที่ความสุขและความพึงพอใจแต่อาจจะได้พบ กับความทุกข์ ความผิดหวัง ทำอย่างไรจึงจะได้อย่างแรกมากที่สุด เมื่อถูกนำมาใช้ในเรื่องของเศรษฐกิจทางการเมือง จึงกลายเป็นหลักคิดที่เน้นผลลัพธ์ มากกว่าชีวิตโดยรวมของประชาชน เพราะคนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและการเมือง เน้นผลลัพธ์ที่ “ แยกส่วน “ หลาย ๆ ครั้งไม่ได้เอา “ ความสุข “ ของประชาชนมาเป็นเป้าหมาย แต่เอาการเติบโต ทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมาย และความสุขก็เป็นแค่ผลพลอยได้ เพราะวิธีคิดแบบนี้ ทำให้ถูกละเลยเรื่องคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เช่นคำว่า “ ค่าของคนอยู่ที่ผลงาน “ ทำให้คนที่ไม่มีผลงาน เช่น คนป่วย พิการ คนชรา คนด้อยโอกาส เป็นคนที่ไม่มีค่าและอาจไม่ได้รับการดูแลในฐานะที่ เป็นคนที่มีศักดิ์ศรีไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด วิธีคิดเช่นนี้อาจนำไปสู่การทำอะไรก็ได้ขอให้ได้ผลเป็นพอ แม้จะต้องใช้ ความรุนแรงก็ตาม นางสาวจริญญา อาการส ประวัติความเป็นมาตำบลขุนทะเล ตำบลขุนทะเลเป็นหนึ่งใน ๕ ตำบลของอำเภอลานสกา ที่ตั้งของตำบลขุนทะเลอยู่ทางทิศตะวันออกที่ว่าการอำเภอลานสกา ระยะทางประมาณ ๙ กิโลเมตรถึงที่ตั้งขององค์การบริหารส่วน ตำบลขุนทะเล ตำบลขุนทะเลเป็นตำบลที่มีประวัติความเป็น มายาวนานเล่ากันว่า ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ก่อนพระเจ้าศรีธรรมโศกราช สร้างพระธาตุที่หาดทรายแก้ว หลายร้อยปีสถานที่ที่ตำบลขุนทะเล ปัจจุบันยังเป็นพื้นต้นน้ำ ติดต่อกับ อ่าวไทย ทางตะวันออกและทางทิศตะวันตก ติดต่อกับเขาววัง เมื่อกาลเวลาล่วง เลยมานานวันเข้ามีการเปลี่ยนแปลงทาง ระบบนิเวศวิทยาทำให้น้ำทะเลในส่วนนี้ กลับตื้นเขินเป็นหาดทรายแก้ว ทอดยาวเป็นเนิน ตั้งแต่ในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ไปจนถึงอำเภอหัวไทร พระเจ้าศรีธรรมโศกได้สร้างเมืองตามพรลิงค์ ขึ้นที่หาดทรายแก้ว แห่งนี้ และขึ้นที่หาดทรายแก้ว แห่งนี้ และได้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์แต่ยังสร้างไม่ทันเสร็จ ได้เกิดโรคห่าขึ้นก่อน พระเจ้าศรีธรรมโศกจึงนำไพร่พลหนีไข้ห่าขึ้นไปอยู่บนเขาวังชั่วคราว ซึ่งในตอนนั้นพื้นที่ในส่วนที่เป็นตำบลขุนทะเลปัจจุบัน ยังเป็นทางน้ำหรือแม่น้ำที่กว้างใหญ่ไพศาลมาก มาจากริมเชิงเขาวัง ไปสู่อ่าวไทย กระแสน้ำที่เกิดจาก เขาวัง เขาลานสกาใน เข้าแก้วน้ำตกกระโรม มารวมกันที่ซอกเขาเชิงผาบานตุมปัน ดูเหมือนว่าต้นน้ำทั้งหมด เกิดออกจากเขาวัง พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้เสด็จขึ้นไปยังเขาวังโดยผ่านถ้ำน้ำคลุ้ง- บ้านในลา ขึ้นไปประทับอยู่ที่หน้าถ้ำชีหรือถ้ำปู่ชี โดยสำรวจพื้นที่ ที่เป็นที่ราบในหุบเขา ที่กว้างใหญ่หลายพันไร่ซึ่งมีลำคลองไหลผ่าน กลางที่ราบที่มี หุบเขาเข้าล้อมรอบ คลองนี้เกิดจากน้ำตกเทวดาบน เขาวัง แต่ที่หน้าแปลกคือน้ำในคลองนี้ไม่สามารถไหล เป็นลำคลองสู้พื้นดินที่ราบได้ น้ำจึงไหลเข้าสู่ใต้ถ้ำชีลอดใต้จอมเขา หลายสันออกมาที่ถ้ำ น้ำคลุ้งที่บ้านในลา พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ทรงสงสัยในความอัศจรรย์ของน้ำที่ไหล เข้าใต้ภูผานั้นเป็นอันมาก จึงได้นำทหารลงมาสำรวจที่ถ้ำน้ำดังกล่าว และทรงเชื่อมั่นว่าน้ำที่ออกจากถ้ำน้ำคลุ้งนั้น มาจากน้ำบนเขาวังไหลออกสู่ที่ราบบริเวณ ที่ติดกับถ้ำน้ำทั่งหมด จึงเรียกพื้นที่นั้นว่า “ขุนทะเล” ซึ่งแปลว่า ต้นน้ำตรงตามความหมายได้จริงๆ ที่มาจาก องค์การบริหารส่วนตำบล ขุนทะเล |
วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
50 ปี ชุมชนของข้าพเจ้า
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น